วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ฮาร์ดแวร์







ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอกเครื่อง อย่างเช่น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ จอภาพเป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น และจับต้องได้



Bit และ Byte

ไฟฟ้ามี 2 สถานะคือมีและไม่มีไฟ หรือ เปิดและปิด คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้า การทำงานการสื่อสารในคอมพิวเตอร์จึงสื่อด้วยสถานะทางไฟฟ้า ซึ่งเลขฐานสอง (Binary number) ที่มีเลข 2 ค่าคือ 0 กับ 1 จึงเหมาะที่จะใช้อธิบายการสื่อสารในคอมพิวเตอร์โดยให้ 1 แทนการเปิดหรือมีไฟและ 0 แทนการปิดหรือไม่มีไฟ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในหน่วยความจำก็เก็บเป็นสถานะทางไฟฟ้า โดยหน่วยเก็บข้อมูลที่เล็กที่สุด เรียกว่า bit (Binarydigit) เป็นพื้นที่ 1 หน่วยที่เก็บค่าทางไฟฟ้าเป็นเปิดและปิด หรือเขียนแทนด้วยเลขฐานสองเป็น 1 หรือ 0 หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์มีหลายแสน หลายล้านๆ bit แต่ 1 bit แทนค่าได้เพียง 1 ค่าไม่อาจแทนอักษร หรือสื่อสารแบบต่างๆในโลกที่มีมากมายได้ เราจึงจัดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่า byte โดย1 byte เท่ากับ 8 bit ที่อยู่ต่อกันใช้เก็บข้อมูล 1 ตัวอักษร (Character) โดยสร้างรหัสแทนค่าขึ้น เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล เช่น อักษร “A” มีรหัสแทนค่า เป็น 01000001



หลักการทำงานและระบบของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ อุปกรณ์รับข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผล หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้จะต้องทำารป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล ( Input Devices ) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งหรือข้อมูลที่รับเข้ามา จะถูกนำไปเก็บยังฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยความจำแรม ( Memory ) จากนั้นจะถูกนำไปตีความ และประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit ) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ที่หน่วยความจำแรม พร้อมกับแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล ( Output Devices )


www.thaigoodview.com

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การใช้คอมพิวเตอร์


การใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี
ปัจจุบัน "คอมพิวเตอร์" กลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนทำงานอย่างเราไม่ใช้ ไม่ได้แล้ว ดังนั้นควรรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องด้วย วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...
เริ่มจากแสงสว่างจากตัวคอมพิวเตอร์สามารถปรับให้เหมาะสมกับดวงตา จะปรับขนาดไหนไม่มีข้อกำหนด เพียงแต่จัดแสงให้ตาเรารู้สึกสบาย และ จะใช้สกรีนติดหน้าจอเพื่อลดความจ้าของแสงก็ได้ หรือลดแสงแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีน้อยมากจากจอ และสกรีนเหล่านี้ ก็มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
ส่วนการป้องกันไม่ให้ตาเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือแสบตา ก็ควรนั่งในท่าที่เหมาะสม และห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-30 นิ้ว สกรีน คอมพิวเตอร์ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20-26 องศา จัดเอกสารที่ต้องใช้ดูประกอบไว้ใกล้กับจอเครื่องคอมพิวเตอร์ จะได้ลดการส่ายศีรษะไปมามาก และลดการเปลี่ยนระยะการดูของตา ในระยะที่ต่างกันมาก
อย่าให้มีฝุ่นเกาะจอคอมพิวเตอร์ ควรทำความสะอาดเสมอ พักสายตา พักอิริยาบถทุก ๆ 20 นาที เพื่อป้องกันตาเมื่อย กะพริบตาบ้าง ถ้ารู้สึกแสบตา หรือใช้น้ำตาเทียมหยดเป็นครั้งคราว
จอภาพคอมพิวเตอร์ต้องโฟกัสชัดเจน ตัวหนังสือ ภาพในจอให้ปรับให้ชัดเสมอผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี และจำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรใช้แว่นอ่านหนังสือที่เหมาะสม และไม่ควรใช้แว่น 2 ชั้น หรือแว่นไม่มีชั้น เพราะจะทำให้ต้องเงยหน้าอ่านข้อความในจอตลอด ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ปวดต้นคอเพิ่มขึ้นอีก
จะใช้คอมพิวเตอร์ครั้งต่อไปก็อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันดูได้

อ้างอิง : http://hilight.kapook.com/view/15694

การประมวลผลเทคโนโลยีเป็นสารสนเทศ



การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
สารสนเทศ คือการนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และนำไปใช้ประโยชน์

การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศทำได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
3. การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551


การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ




จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน